ชี่กงท่าต่างๆ

จุดต่างๆ ที่ใช้ในการฝึกชี่กง

 

จุดแป๊ะหวย  คือ จุดที่อยู่ห่างแนวที่เส้นผมบริเวณหน้าผากไปทางด้านหลังประมาณ 5 นิ้ว ตำแหน่งบริเวณกึ่งกลางของศรีษะ

จุดห่วยอิง  คือ  จุดที่อยู่ใต้กระดูกเชิงกราน  ผู้ชายจะอยู่ระหว่างทวารหนักและถุงอัณฑะ ส่วนผู้หญิงจะอยู่บริเวณช่วงทวารหนัก          กับปากช่องคลอด

จุดย่งจั๊ว  คือ  จุดที่อยู่ใต้อุ้งเท้า  ใช้มืองอนิ้วเท้าทั้ง 5 เข้าหาอุ้งเท้าจะเกิดบริเวณที่บุ๋มลง  จุดที่บุ๋มลงคือจุดย่งจั๊ว

 

                                                                                                

                               

 

ท่ายืนอรหันต์

จัดเป็นท่าที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นเคล็ดลับขั้นพื้นฐานของการฝึกชี่กง  และเป็นรากฐานในการฝึกพลังระดับสูงต่อไป  

เคล็ดลับคือการเปิดจุดเล่าเก็ง และท่ายืนอรหันต์นี้จะช่วยเปิดจุดเล่าเก็งได้รวดเร็วขึ้น (ถ้าไม่มีอาจารย์เปิดจุดเล่าเก็งให้   ท่านต้อง

ฝึกท่ายืนอรหันต์นี้ทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมงเป็นเวลา 3 เดือน จะมีพลังมากพอที่จะทำให้สามารถทะลวงจุดเล่าเก็งได้เอง)  

จุดเด่นของยืนอรหันต์คือ  ยิ่งฝึกมากพลังยิ่งมากขึ้น

 

ขั้นเตรียม  

ผ่อนคลายทั้งกายและจิตใจ  ฝึกในสถานที่อากาศบริสุทธิ์ถ่ายเทสะดวก (ห้ามฝึกในห้องปรับอากาศหรือพัดลม)

 

ขั้นปฏิบัติ

ท่าร่าง  เท้าทั้งสองข้างยืนห่างกันให้กว้างเสมอช่วงไหล่ของตนเอง  ฝ่าเทาทั้งสองขนานกันงอเข่าโดยการย่อเข่าเล็กน้อยให้เสมอปลายนิ้วเท้า  สะโพกลดต่ำเหมือนนั่งบนเก้าอี้  ลดแขนทั้งสองช่วงข้อศอกถึงข้อมือขึ้นขนานกับพื้น  นิ้วทั้งสิบเรียงเป็นขั้นบันได 

ศรีษะตั้งตรงสายตามองตรงไปข้างหน้า (ถ้ายืนอรหันต์โดยยืนให้ต่ำ  ยืนนาน  พลังที่ส่งออกมาจะมีอาณุภาพสูงมาก)

การปรับลมหายใจ  หายใจตามธรรมชาติ  สม่ำเสมอ  เบาและยาว

การกำหนดจิต  ให้กำหนดจิตว่าจุดแป๊ะหวยได้เชื่อมต่อกับพลังฟ้า และจุดย่งจั๊วเชื่อมต่อกับพลังดิน  หายใจเข้าให้กำหนดจิตว่าพลังบริสุทธิ์ทั่วพิภพได้ดูดซึมเข้าตามรูขุมขนทั่วร่างกาย และเมื่อหายใจออกให้กำหนดว่าไอพิษ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ไหลออกไปทาง

จุดเล่าเก็งของฝ่ามือทั้งสองข้างและปลายนิ้วทั้งสิบ ฝังไอโรคลงดินลึกๆ

ประโยชน์  ทำให้เส้นประสาทและเลือดลมในร่างกยไหลเวียนเร็วขึ้น  สามารถทำให้ไอโรคออกทางฝ่ามือทั้งสองข้างและทางรูขุมขนระบายออกมากับเหงื่อนอกจากนี้ท่านี้ยังช่วยเพิ่มอาณุภาพของพลังชี่กงที่ฝึกฝน

 

ขั้นยุติการฝึก

ค่อยๆกำมือทั้งสองข้าง  หายใจเข้า  ยกขึ้นถึงระดับอก  จากนั้นค่อยๆกดฝ่ามือทั้งสองข้างลงถึงบริเวณท้องน้อย  พร้อมหายใจออกทางริมฝีปาก  กำหนดจิตเก็พลังเข้าสู่ตังชังล่าง

 

ขั้นปฏิบัติ

ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ กำหนดจิต การท่องธรรมคาถาและการฝึกปฏิบัติ 18 ท่าตามลำดับ

  1. กำหนดจิตให้มีความรู้ว่า พระโพธิสัตว์กวนอิมในมือถือคนโฑวิเศษ  กำลังประพรมน้ำทิพย์จากเบื้องบนลงมาที่ศรีษะ
  2. ของเราแล้วซึมสู่จุดแป๊ะหวย (กลางศรีษะ) ผ่านเข้าไปช่วงคอ บ่า หน้าอก อวัยะภายในต่างๆ ข้อศอก มือ นิ้วมือ ต้นขา
  3. หัวเข่า น่อง จนถึงอุ้งเท้า  เพื่อขับไล่ไอพิษและไอโรคของร่างกายลงสู่ใต้ดินโดยผ่านจุดย่งจั๊ว (กลางฝ่าเท้า) ให้กำหนดจิตลักษณะนี้สามรอบ
  4. ประโยชน์  เป็นการเชื่อมต่อกระแสจิตให้รวมเป็นหนึ่งำให้ร่างกายผ่อนคลาย และสามารถขับไล่ไอโรคออกจากร่างกายได้
  5. ท่องธรรมคาถา 6 คำ ให้ครบ 3 รอบ ธรรมคาถา 6 คำ คือ

               -  เวิง (WENG)        มา (MA)           ลี (LI)    

                  เปย (BEI)             มี  (MI)           โฮง  (HONG)

ประโยขน์  เป็นการขับไล่ไอโรคออกจากร่างกายโดยอาศัยการสั่นสะเทือนของเสียง (Vibration) และปรับแต่งอวัยวะภายในร่างกาย

   4.  ฝึกปฏิบัติ 18 ท่า

 

ท่าที่1  ขับขุ่นลดพิษ

ยกมือจากด้านข้างลำตัว ค่อยๆหงายฝ่ามือ ชูแขนขึ้นช้าๆ จนแขนอยู่เหนือศรีษะ จากนั้น กดฝ่ามือควำ่ลงจากด้านบน โดยฝ่ามือผ่านใบหน้า ลำคอ หน้าอก ท้องน้อย ตามแนวกึ่งกลางด้านหน้าร่างกาย ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ บำบัดโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง

 

ท่าที่2  พระกิมกังกระทุ้งกระบอง

วางฝ่ามือคว่ำลงอยู่ระดับท้องน้อย  โดยนิ้วมือหันเข้าหากันและปรับจุดเล่าเก็ง (กลางฝ่ามือ) ให้ตรงกับจุดย่งจั๊ว (กลางฝ่าเท้า) จากนั้นยกฝ่ามือขึ้นถึงระดับหน้าอกแล้วกดฝ่ามือลงช้าๆถึงท้องน้อย ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ บำบัดโรคเกี่ยวกับโรคไตเสื่อม  น้ำบำรุงไตบกพร่อง  ปวดเมื่อยเอว ขา เท้า  ไม่มีแรง  หูอื้อ  มีเสียงในหู  อาการหลงลืม  ปัสสาวะ

ติดขัด  บวม  ปัสสาวะบ่อย    นอนไม่หลับ  ฝันร้าย และหัวใจเต้นแรง   ช่วยขับเลือดลมของเท้าทั้งสองข้างให้หมุนเวียนคล่องนอก

จากนี้ยังบำบัดโรคเกี่ยวกับเท้าได้  เช่น ไขข้ออักเสบ  ปวดส้นเ  หัวเข่าไม่มีแรง  เท้าเป็นเหน็บชาหรืออัมพาต

 

ท่าที่3  ฟ้าประทานพร

ยกมือจากด้านข้างลำตัว ค่อยๆหงายฝ่ามือและชูแขนขึ้นช้าๆ จนแขนอยู่เหนือศรีษะแล้วให้นิ้วมือทั้งสิบประกบเข้าหากันเป็นรูปดอกบัว (นิ้วไม่ชิดกัน)จากนั้นพนมมือแล้วกดลงจากด้านบนจนถึงท้องน้อย ฝ่ามือจึงแยกจากกัน ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์

บำบัดโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง  ช่วยลดความดันโลหิต  เพิ่มพลังหยาง  มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับสมองโดยตรง  กระคุ้นสมองเพิ่มพูนสติปัญญา  บำบัดเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมองอุดตัน  โลหิตคั่งในสมอง  โรคประสาท  ปวดศรีษะ  เวียนศรีษะ  หัวใจโต 

อ่อนแรง  หลงลืมและหลับยา

 

ท่าที่4  ฟองคลื่นพกพัน

อาศัยกระดูกสันหลังโยกเคลื่อนไหวร่างกาย โดยโยกหน้า-หลังตามแนวดิ่งตั้งแต่ก้นกบขึ้นไปถึงกระดูกคอ และจากกระดูกคอมายังก้นกบ ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ ฝึกกระดูกสันหลังให้ไขกระดูกสันหลังสามารถผลิตเลือดได้ชั่วอายุขัย  รักษาสมรรถนะในการทำงานของไขสันหลัง  สมอง  และเส้นเลือด  หัวใจและอวัยวะภายใน  กระตุ้นระบบประสาทให้คลายความเครียด  ระบบเลือดไหลเวียนคล่องตัว  และกระดูก  เส้น

เอ็นแข็งแรง  นอกจากนี้ยังบำบัดโรคกระดูกสันหลังทุกชนิด  เช่น  กระดูกสันหลังเสื่อม  กระดูกงอก  กระดุกเอวนูน  ปวดประสาท

บริเวณกระดูกก้นกบ

 

ท่าที่5  ลมโชยดอกบัว

อาศัยกระดูกสันหลังโยกเคลื่อนไหวร่างกาย โดยโยกซ้าย-ขวาตามแนวขวางแบบลูกคลื่่น ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ ฝึกกระดูกสันหลังเหมือนท่าที่4 ต่างกันที่เป็นการฝึกเคลื่อนกระดูกสันหลังโดยการโยกซ้าย-ขวา

 

ท่าที่6  เสาหยกหันหวน

อาศัยกระดูกสันหลังโยกเคลื่อนไหวร่างกาย โดยโยกหมุนไปทางซ้าย- ขวา ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ ฝึกกระดูกสันหลังเหมือนท่าที่4 และท่าที่5  ต่างกันที่เป็นการฝึกเคลื่อนกระดูกสันหลังโดยการโยกหมุนซ้าย-ขวา

 

ท่าที่7  ธรรมศรีระเปล่งแสง

ยกแขนทั้งสองข้างไปด้านหน้าระัดับศรีษะ แล้วลดแขนลงต่ำในลักษณะวาดแขนผ่านด้านข้างลำตัวไปข้างหลังเหมือนรูปเจดีย์ ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ คลายความเครียดของประสาททั้งสองข้างและเลือดลมของแขนทั้งสองข้าง  สามารถบำบัดโรคเกี่ยวกับแขนและหัวไหล่

 

ท่าที่8  นาคสาวเล่นน้ำ

อุ้งมือทั้งสองข้างหันลงพื้น นิ้วทั้งสิบหันไปข้างหน้าโดยให้ความสูงเสมอหน้าอก แล้วแยก-หุบแขน ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ คลายความเครียดของประสาทแขนทั้งสองข้างและเป็นการฝึกช่วงอกและบำบัดโรคเกี่ยวกับแขนและหัวไหล่  รวมทั้งโรคของปอด

และหัวใจ  เช่นวัณโรค  ระบบหลอดลม  ทางเดินหายใจ  โรคหอบหืด  หัวใจอ่อนแรง  นอนไม่หลับ

 

ท่าที่9  พายเรือข้ามฟาก

อุ้งมือทั้งสองข้างหันลงพื้น ใช้ช่วงแขนตั้งแต่ข้อศอกมาถ่ายกำลังให้หัวไหล่ทั้งสองแล้วหมุนเป็นวงกลมโดยหมุนไปข้างหน้า 18 ครั้ง แล้วหมุนถอยหลังอีก 18 ครั้ง

ประโยชน์ สามารถบำบัดโรค เหมือนท่าที่8

 

ท่าที่10  กระจกวิเศษส่องตา

ยกมือทั้งสองข้างขึ้น หันอุ้งมือส่องที่ตาทั้งสองข้างแล้วงอนิ้วทั้งสิบให้มีลักษณะคล้ายกรงเล็บ ตะครุบไอโรคภัยไข้เจ็บสะบัดมือลงข้างล่าง ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ สามารถบำบัดโรคเกี่ยวกับตา  ทำให้สายตาคมชัด  ตาขาว  ตาดำ  และกระจกตาสดใสมีชีวิตชีวา

 

ท่าที่11  ดอยคู่กระทบโสต

ยกมือทั้งสองข้างขึ้น หันอุ้งมือส่องเข้าที่หูทั้งสองข้างแล้วงอนิ้วทั้งสิบให้มีลักษณะคล้ายกรงเล็บ ตะครุบไอโรคภัยไข้เจ็บแล้วสะบัดมือลงข้างล่าง ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ สามารถบำบัดโรคเกี่ยวกับหู เช่น หูอื้อ หูอักเสบ มีเสียงนหู ทำให้ประสาทหูไวและบำรุงให้แข็งแรง

 

ท่าที่12  สงฆ์ชราลูบศรีษะ

งอนิ้วทั้งสิบให้มีลักษณะคล้ายกรงเล็บแล้วเคาะหรือหวีผมบนศรีษะจากด้านหน้าไปปด้านหลังให้ทั่วศรีษะ

ประโยชน์ สามารถบำบัดโรคเกียวกับศรีษะ เช่น ปวดศรีษะ  โรคเส้นประสาท  นอนไม่หลับ  โลหิต  สมองอุดตันหรือตีบ  ทำให้เลือดลมบริเวณศรีษะหมุนเวียนสะดวก  ผมไม่ร่วงง่าย

 

ท่าที่13  บัวบานบัวหุบ

หันอุ้งมือทั้งสองข้างเข้าหากัน แล้วแยกออกและดันเข้าสลับกันไปเรื่อยๆ ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ สามารถบำบัดโรคเกี่ยวกับช่องท้องและระบบสืบพันธุ์ เช่นกระเพาะอาหารไม่ย่อย  ลำไส้อักเสบ  ตับอักเสบ  อวัยวะภายในช่องท้องบกพร่อง  เช่นมดลูก  รอบเดือนไม่ปกติ  ท้องผูก นิ่ว  เบาหวาน และต่อมลูกหมากโต

 

ท่าที่14  ธรรมจักรหมุนรอบ

หันอุ้งมือทั้งสองข้างเข้าหากันในลักษณะอุ้มลูกบอลไว้ที่ด้านหน้าท้องน้อย แล้วหมุนวนไปด้านหน้า 18 ครั้ง และหมุนเข้าหาตัวอีก 18 ครั้ง

ประโยชน์ สามารถบำบัดโรคเกี่ยวกับช่องท้อง  ระบบสืบพันธุ์เหมือนท่าที่13

 

ท่าที่15  ทะลวงศูนย์บัญชา

หันอุ้งมือทั้งข้างเข้าหากัน โดยมือซ้ายคว่ำอยู่บนมือขวาที่หงาย (ผู้หญิงทำตรงข้าม) แล้วแยกมือทั้งสองข้างขึ้นลงตามแนวดิ่งหรือแนวตั้ง 18 ครั้ง จากนั้นสลับให้มือขวาควำ่อยู่บนมือซ้ายที่หงาย  (ผู้หญิงทำตรงข้าม) อีก 18 

ประโยชน์ สามารถบำบัดโรคเกี่ยวกับหน้า  คอ  บริเวณช่วงอก  บริเวณช่องท้องและระบบสืบพันธุ์

 

ท่าที่16  ฟ้าประสานดิน

ต่อจากท่า 15 โดยหันอุ้งมือซ้ายที่หงายอยู่ขึ้นบน ส่วนอุ้งมือขวาที่ควำ่อยู่หันลงล่าง (ผู้หญิงทำตรงข้าม) แล้วแยกมือทั้งสองข้างออกเสมอลำตัว แล้วค่อยๆงอเข่าทั้งสองเล็กน้อยยืนนิ่งในท่านี้ประมาณ 3-5 นาที

ประโยชน์ สามารถบำบัดโรคต่างๆ  เพิ่มภูมิต้านทานโรค และทำให้เท้าทั้งสองข้างมีพละกำลัง

 

ท่าที่ 17 สลับฟ้าดิน

ต่อจากท่า 16 โดยพลิกฝ่ามือที่หงายขึ้นให้คว่ำลงและพลิกฝ่าือที่ควำ่ให้หงายขึ้นทำพร้อมกันสลับไปเรื่อยๆหันอุ้งมือซ้ายที่หงายอยู่ขึ้นบน ทำให้ครบ 36 ครั้ง

ประโยชน์ สามารถบำบัดโรคต่างๆ เลือดลมในร่างกายให้หมุนเวียนสมำเสมอ 

รักษาโรคข้อมือ

 

ท่าที่18 โอบอุ้มพระธาตุ

ท่านี้เป็นท่ายุติการฝึก โดยหันอุ้งมือทั้งสองข้างหน้าท้องน้อยในลักษณะอุ้มลูกบอลแก้ว นิ่งในท่านี้ 3-5 นาที

ประโยชน์ สามารถบำบัดโรคเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์  ประจำเดือนผิดปกติ  เบาหวาน ต่อมลูกหมากโต และภาวะร่างกายอ่อนแอ

 

ขั้นยุติการฝึก

 

ฝ่ามือทั้งสองข้างค่อยๆเคลื่อนเข้ามาหาท้องน้อย (ในเวลาเดียวกัน ขาทั้งสองข้างให้ยืนตรง)  มืทั้งสองวางทับซ้อนกันที่ท้องน้อยตรงจุดตังชังล่าง (เพศชายมือขวาวางทับมือซ้าย  ส่วนเพศหญิงมือซ้ายวางทับมือขวา)  จากนั้นหมุนตามเข็มนาฬิกา 36 รอบ  พร้อม

กำหนดจิตว่าหมุนจากวงเล็กไปหาใหญ่  แล้วหมุนทวนเข็มนาฬิกา 36 รอบ  พร้อมกำหนดจิตว่าหมุนจากวงใหญ่ไปหาเล็ก

 

 

Visitors: 27,079