ครอบแก้ว ดูดพิษ
ครอบแก้วบำบัดโรค
เมื่อร่างกายปกติส่วนต่างๆจะมีประสิทธิภาพในการรักษาความสมดุลซึ่งกันและกัน แต่เมื่อยามเจ็บป่วย เส้นลมปรานซึ่งเป็นท่อลำเลียงชี่และเลือดที่มีเครือข่ายกระจายไปทั่วทุกส่วนของร่างกายจะขาดความสมดุล มีผลทำให้ชี่หนืดคั่ง เส้นลมปรานอุดตันจนเกิดความเจ็บป่วย เนื่องจากชี่ และเลือดเป็นสารบำรุงและปรับสมดุลให้แก่ระบบต่างๆ เพื่อให้เกิดสมรรถนะขึ้นภายในร่างกาย ชี่และเลือดนับเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าสองสิ่งนี้ไม่สมดุล ห้าอวัยวะตันและหกอวัยวะกลวง ผิวหนัง เนื้อเยื่อ เส้นเอ็น และกระดูกจะขาดสารบำรุง ทำให้การเคลื่อนไหวของระบบอวัยวะสำคัญปกติจนกลายเป็นโรค เสริมสมรรถนะของระบบอวัยวะตันและอวัยวะกลวงต่างๆ ช่วยให้เส้นลมปรานและอวัยสำคัญทำงานอย่างปกติ
การครอบแก้วสามารถกระตุ้นปรับชี่ในเส้นลมปรานให้เกิดการไหลเวียนสะดวกช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวกขจัดเลือดคั่ง ทะลุเส้นลมปราณระงับอาการปวด
ประโยชน์จากการครอบแก้ว
- สลายตะคริวกล้ามเนื้อการรครอบแก้วสามารถระงับอาการเจ็บปวดได้โดยตรง ระงับการเกิดตะคริว กระตุ้นเส้นประสาท ระงับต้นเหตุการเจ็บปวด
- สลายบวมระงับปวดแก้เลือดคั่งเพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก สามารถเร่งการไหลเวียนของเส้นเลือดดำ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการบวมน้ำบวมเลือด
- ขจัดอักเสบระงับปวดจากการอักเสบที่ปลอดเชื้อ การครอบแก้วช่วยให้ชี่และเลือดกล้ามเนื้อไหลเวียนสะดวก ระงับความเจ็บปวด
โรคที่ไม่เหมาะกับการครอบแก้ว
- คนไข้มีจิตใจว้าวุ่นสับสน หรือกล้ามเนื้อทั่วไปเป็นตะคริวอย่างรุนแรง
- คนไข้ที่มีจิตประสาทผิดปกติ
- ผู้ป่วยเรื้อรังจนจิตใจอ่อนแอมาก
- ผู้มีปัญหาเลือดไม่แข็งตัว เลือดออกง่าย โรคเลือดออก ผิวหนังเป็นจ้ำสีม่วงได้ง่าย เกล็ดเลือดต่ำมีผิวด่างม่วง มะเร็งเม็ดโลหิตบาว ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น
- โรคผิวหนังต่างๆ ผิวหนังแพ้ง่าย กลากเกลื้อน ผิวมีแผลเน่าเปื่อยพุพอง
- ผู้ป่วยมะเร็ง
- สตรีระหว่างตั้งครรภ์ ห้ามครอบแก้วบริเวณท้อง ก้นกบ เต้านม ส่วนบริเวณอื่นให้บำบัดอย่างเบามือ
โรคต่างๆที่สามารถรักษาด้วยการครอบแก้ว
- ไหล่ติด
- บาดเจ็บจากเอวเคล็ด
- ไข้หวัด
- ไซนัส
- คออักเสบ
- ความดันโลหิตสูง
- เบาหวาน
- โรคกระเพาะอาหาร
- ท้องผูก
- ปวดศรีษะ
- นอนไม่หลับ
- อัมพาต
- วัยทอง
- โรคจากระบบปรับอากาศ
- สิว
- ต่อมลูกหมากโต
- เสื่อมสมรรภาพทางเพศ
- ปวดประจำเดือน
ตัวอย่างโรคที่บำบัดด้วยการครอบแก้ว ตำแหน่งที่บำบัด
โรคกระเพาะอาหาร
จุดสำคัญที่บำบัด ได่แก้จุดจงหว่าน จุดเหลียงเหมิน จุดจู๋ซานหลี่ จุดกานซู จุดผีซู จุดเว่ยซู
แก้วนิ่ง :
ท่านอนคว่ำ เลือกแก้วปั๊มอากาศหรือแก้วไฟครอบที่จุดกานซู จุดผีซู จุดเว่ยซู เป็นเวลา 10-15 นาที
ท่านอนหงาย ครอบแก้วที่จุดจงหว่าน จุดเหลียงเหมิน จุดจู๋ซานหลี่ เป็นเวลา 10-15 นาที บำบัดวันละ 1 ครั้ง (10 ครั้ง ถือเป็น 1 ช่วงการบำบัด)
แก้ววิ่ง :
ท่านอนคว่ำ ใช้น้ำมันทาผิวบนแผ่นหลัง เลือกแก้วไฟหรือถ้วยไม่ไผ่ครอบที่สองข้างของกระดูกสันหลัง จับแก้วรูดขึ้นลงไปมาหลายๆครั้งผ่านจุดกานซู จุดผีซุ จุดเว่ยซู จนผิวหนังมีรอยสีแดงสด แล้วครอบแก้วนิ่งที่จุดกานซู จุดผีซู เป็นเวลา 10 นาที
คออักเสบ
จุดสำคัญที่บำบัด ได้จุดเทียนทู จุดฉื๋อเจ๋อ จุดต้าจุย จุดเซิ้นจู้ จุดเห่อกู่
แก้วนิ่ง :
ท่านอนคว่ำ เลือกแก้วปั๋มอากาศหรือแก้วไฟครอบที่จุดต้าจุย จุดเซิ่นจู้เป็นเวลา 10-15 นาที
ท่านั่ง เลือกแก้วปั๋มอากาศหรือแนวไฟครอบที่จุดฉื๋อเจ๋อ จุดเห่อกู่ เป็นเวลา 8-10 นาทีวันละ 1 ครั้ง (10 ครั้ง ถือเป็น 1 ช่วงการบำบัด) สำหรับจุดเทียนทูให้ใช้วิธีกัวซา เนื่องจากไม่สามารครอบแก้วที่จุดนี้
สิว
สาเหตุ คนที่เป็นสิวเรื้อรังมักมีสภาวะร่างกายที่มีความร้อนมากเกินไป โดยเฉพาะความร้อนในระบบปอด กระเพาะ และม้าม ภาวะเสียสมดุลที่เป็นสาเหตุของสิวพบได้ใน 3 ลักษณะด้วยกันคือ
- ระบบปอดสูญสียความสมดุล มีสิวอักเสบเม็ดเล็กๆ กระจายตามหน้าผาก รู้สึกมีอาการคัน ปากคอแห้ง กระหายน้ำ อาจมีท้องผูกร่วมด้วย
- ระบบกระเพาะและม้ามสูญเสียความสมดุล มีสิวอุดตันเป็นตุ่มสีขาว พบมากบริเวณรอบปากและคาง หรือสิวอีกเสบเป็นหนองผิวหน้ามัน มีอาการปากขมหรือมีกลิ่นปากโดยไม่ทราบสาเหตุ หิวบ่อย บประทานเก่ง หรือมีอาการท้องผูกร่วมด้วย
- โลหิตคั่ง เป็นสิวเรื้อรัง เม็ดสิวแข็งเป็นไต กดเจ็บ บางท่านอาจมีผิวขรุขระคล้ายเปลือกส้ม สตรีมักมีอาการผิดปกติของประจำเดือน เลือดมีสีคล้ำและเป็นก้อน เลือดปน และอาจมีอาการปวดประจำเดือน
การบำบัด
จุดสำคัญที่บำบัด ได้แก่ จุดต้าจุย จุดเฟ่ยซู จุดผีซู จุดเว่ยซู จุดต้าฉางชู
แก้วนิ่ง
ท่านอนคว่ำ เลือกแก้วไฟครอบที่จุดต่างๆ ข้างบนดังกล่าวเป็นเวลา 10-15 นาทีให้บำบัดสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
แก้ววิ่ง
ท่านอนคว่ำ ใช้นำมันทาผวบนแผ่นหลัง เลือกแก้วไฟหรือถ้วยไม่ไผ่ครอบที่แนวสองข้างของกระดูกสันหลัง ผ่านจุดเฟ่ยซู จุดผีซู จุดเว่ยซู จุดต้าฉางซู โดยจับแก้วรูดขึ้นลงไปมาหลายๆครั้งจนผิวหนังมีรอยสีแดงสด
อัมพาต
จุดสำคัญที่บำบัด ได้แก่ จุดตามแนวเส้นลมปราณตู๋ม่ายและแนวสองข้างของกระดูกสันหลัง
อัมพาตส่วนบน จุดเจียนอวี๋ จุดชวีฉือ จุดไว่กวน
อัมพาตส่วนล่าง จุดหวนเที่ยว จุดจวีเหลียว จุดเฉินฝู จุดหยางหลิงเฉวียน จุดจู๋ซานหลี่
อัมพาตใบหน้า จุดเซี่ยกวน จุดเจ๋อเชอ จุดตี้ชาง
แก้วนิ่ง :
ท่านอนข้าง ให้ด้านที่อัมพาตอยู่บน เลือกแก้วปั๋มอากาศหรือแก้วไฟครอบจุดต่างๆ ดังกล่าวข้างบนเป็นเวลา 20 นาที วันละ 1 ครั้ง (10 ครั้งถือเป็น 1 ช่วงบำบัด)
แก้ววิ่ง :
นอนคว่ำหน้า ใช้น้ำมันทาผิวบนแผ่นหลัง เลือกแก้วหรือถ้วยไม้ไผ่ครอบที่แนวเส้นลมปราณตู๋ม่ายและแนวสองข้างของกระดูกสันหลัง จับแก้วรูดขึ้นลงไปมาหลายๆครั้ง จน ผิวหนังบริเวณนั้นมีสีแดงสดควรจับแก้วค่อยๆรูดบำบัดในคนไข้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอ
เบาหวาน
การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน หรือมันจัด ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้กระเพาะอาหารและม้ามต้องทำงานหนัก หรือแม้กระทั่งการสะสมความเครียดไว้เป็นเวลานาน ก็ทำให้เกิดการอุดตันในระบบหมุนเวียนของเลือดลม (ระบบในร่างกายเผาผลาญน้ำในร่างกายจนเหือดแห้ง) หรือมีอาการของหยินอ่อนแอ เมื่อผนวกกับการมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้ง ทำให้เกิดภาวะหยินพร่องแพทย์แผนปัจจุบันมักจะให้ลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่แพทย์แผนจีนมองว่าน้ำตาลเป็นสิ่งที่สำคัญกับร่างกาย การบำบัดจึงควรบำบัดที่ต้นตอ นั่นก็คือระบบย่อยและเผาผลาญน้ำตาลไม่ใช่การควบคุมน้ำตาล
อาการ
1)จากปอดร้อน กระหายน้ำ ดื่มจุ ปากคอแห้ง ปัสสาวะมาก ข้างปลายลิ่นแดง
2)จากกระเพาะอาหารร้อน หิวบ่อย กินจุ ร่างกายผ่ายผอม อุจจาระแห้ง คอแห้ง ชอบดื่มน้ำ ลิ้นแดง
3)จากไตอ่อนแอ ปัสสาวะมากและบ่อย มีลักษณะขุ่นข้น บางครั้งเหนียว ผู้ที่หยินของไตพร่องมักมอาการปากแห้งลิ้นแตกร่วมด้วย ส่วนผู้ที่หยางพร่องมักจะกลัวหนาว
ข้อควรระวัง
ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเอง ควรระมัดระวังความเคยชินในการรับประทานอาหารที่มีความมันและความหวานจัด ไม่ควรทำงานคร่ำเคร่ง หรือหักโหมจนเกินไป ควรผ่อนคลายอารมณ์ให้สบาย
จุดสำคัญที่บำบัด ได้แก่ จุดเฟ่ยซู จุดอี๋ซู จุดกวนหยวน จุดจู๋ซานหลี่ จุดผีซู จุดเซิ่นซู
แก้วนิ่ง
ท่านอนหงาย เลือกแก้วปั๋มอากาศหรือแก้วไฟครอบี่จุดกวนหยวน จุดจู๋ซานหลี่ ป็นเวลา 15-20 นาที
ท่านอนคว่ำ ครอบแก้วที่จุดเฟ่ยซู จุดอี๋ซู จุดผีซู จุดเซิ่นซู เป็นเวลา 15-20 นาที บำบัดวันละ 1 ครั้ง (10 ครั้งถือเป็น 1 ช่วงบำบัด)
ตำแหน่งจุดตางๆที่ควรรู้
ก่อนการรู้ตำแหน่งจุดต่างๆตามตำราจีนโบราณ ควรมีความรู้เกี่ยวกับการวัดระยะห่างด้วยหน่วยชุ่นดังนี้
1 ชุ่น เท่ากับ ความกว้างของหนึ่งนิ้วหัวแม่มือ หรือ 1.5 นิ้วมือ
1.5 ชุ่น เท่ากับ ความกว้างของนิ้วชี้และนิ้วกลางชิดกัน
3 ชุ่น เท่ากับ 4 นิ้วมือชิดกัน