จุดต่างๆในการรักษา
ชื่อจุด | ตำแหน่ง |
กวนหยวน | บริเวณกึ่งกลางท้องน้อย ใต้สะดือ 3 ชุ่น |
กวนหยวนซู | บริเวณหลัง ระดับขอบล่างปุ่มกระดูกสันหลัง เอวที่ 5 ข้างต่อแนวกึ่งกลางตัว 1.5 ชุ่น |
กานซู | ระดับขอบล่างปุ่มกระดูกสันหลัง อกที่ 9 ข้างต่อแนวกึ่งกลางตัว 1.5 ชุ่น |
จงจี๋ | จุดกลางท้องน้อย ใต้สะดือ 4 ชุ่น |
จงหว่าน | จุดกึ่งกลางท้อง เหนือสะดือ 4 ชุ่น |
จวีเหลียว | รอยบุ๋มของกระดูกสะโพก |
จือโกว | ด้านหลังแขน เหนือข้อมือ 3 ชุ่น |
จู๋ซานหลี่ | ใต้รอยบุ๋มบริเวณเข่าลงมา 3 ชุ่น อยู่ในร่องถัดจากสันกระดูกหน้าแข้งไปด้านนอก 1 นิ้วมือ |
เจียนจิ่ง | บริเวณรอยบุ๋มบนบ่า |
เจียนเน่ยหลิง | จุดกึ่งกลางระหว่างรอยพับรักแร้ด้านหน้าละจุดเจียนอวี๋ |
เจียนเหลียว | รอยบุ๋มหลังของไหล่ ขณะกางแขนออกด้านข้าง |
เจียนอวี๋ | ตรงมุมหัวไหล่ |
เจี๋ยเชอ | เฉียงขึ้นมาจากมุมคางในแนว 45 องศา ประมาณ 1 ชุ่น จะมีรอยบุ๋มของกล้ามเนื้ออยู่ |
ฉื่อเจ๋อ | บนรอยพับข้อศอก เมื่องอแขนจะเห็นเส้นเอ็น จุดนี้จะอยู่ข้างเส้นเอ็นไปทางด้านนอก |
เฉิงฝู | บนต้นขาด้านหลัง ตรงจุดกึ่งกลางของรอยพับบริเวณก้นย้อย |
ชวีฉือ | รอยบุ๋มใกล้ข้อศอกด้านนอก ถ้างอพับข้อศอกเต็มที่จุดนี้จะอยู่ตรงปลายด้านนอกสุดของรอยพับข้อศอก |
ชี่ไห่ | กึ่งกลางท้อง ใต้สะดือ 1.5 ชุ่น |
ชื่อเหลียว | ในรูที่ 2 ของกระดูกก้นกบ |
ซานอินเจียว | ด้านในของขา เหนือยอดตาตุ่มใน 3 ชุ่น ตรงขอบกระดูกสันหน้าแข็ง |
ซินซู | ที่หลัง ระดับขอบล่างปุ่มกระดูกสันหลัง อกที่ 5 ข้างต่อแนวกึ่งกลางตัว 1.5 ชุ่น |
เซี่ยกวน | บนกระดูกนูนระหว่างติ่งหน้าหูกับกระดูกโหนกแก้ม |
เซินจู้ | กึ่งกลางหลัง ใต้กระดูกสันหลังระดัอกข้อที่สาม |
เซิ่นซู | สองข้างของจุดมิ่งเหมิน (จุดตรงข้ามกับสะดือ) ห่างจากจุดมิ่งเหมิน ข้างละ 1.5 ชุ่น |
เซวี่ยไห่ | ด้านในต้นขาเหนือจากหัวเข่า 2 ชุ่น (3 นิ้วมือ) |
ต้าจุย | ร่องระหว่างกระดูกสันหลังส่วนคอที่ 7 (ปุ่มกระดูกคอที่นูนใหญ่ที่สุด) กับกระดูกสันหลงส่วนอกที่ 1 |
ต้าฉางซู | ขอบล่างปุ่มกระดูกสันหลังเอวที่ 4 ข้างต่อแนวกึ่งกลางตัว 1.5 ชุ่น |
ตี้ชาง | ใต้จุดซื่อไป๋ ตรงจุดตัดกันของเส้นในแนวดิ่งจากจุดซื่อไป๋กับเส้นแนวนอนที่ลากจากมุมปากออกไป |
โถวเหวย | อยู่ที่มุมที่บรรจบกันของชายผมด้านหน้าและด้านข้าง เลยขึ้นไป 1.5 ชุ่น |
เทียนจง | บริเวณกระดูกสะบัก ตรงกับระดับกระดูกสันหลังส่วนอกที่ 4 |
เทียนซู | ระดับเดียวกับสะดือ ห่างจากสะดือในแนวราบ 2 ชุ่น |
ไท่ชง | หลังเท้า ตรงรอยบุ๋มด้านในสุดของร่องระหว่างกระดูกหลังเท้าที่ 1 และ 2 |
ไท่หยาง | รอยบุ๋มขมับ โดยวัดจากจุดกึ่งกลางระหว่างหางคิ้วและหางตามาด้านข้างประมาณ 1 ความกว้างนิ้วมือ |
ปาเหลียว | คือชื่อรวมของจุด 8 จุด ประกอบด้วยจุดช่างเหลียว 2 จุด จุด ชื่อเหลียว 2 จุด และจุดเซี่ยเหลียว 2 จุด |
จุดช่างเหลียว อยู่ตรงรูบนกระดูกกระเบนเหน็บ | |
จุดชื่อเหลียว อยู่ในรูที 2 ของกระดูกกระเบนเหน็บ | |
จุดจงเหลียว อยู่ในรูที 3 ของกระดูกกระเบนเหน็บ | |
จุดเซี่ยเหลียว อยู่ในรูที 4 ของกระดูกกระเบนเหน็บ | |
ไป่ฮุ่ย | จุดตัดระหว่างเส้นที่ลากจากยอดใบหูทั้ง 2 ข้าง ตัดกับเส้นแบ่ง ครึ่งศรีษะซ้ายขวา |
ผังกวางซู | อยู่ในแนวเดียวกับรูที่ 2 ของกระดูกก้นกบ ห่างจากแนวกระดูกสันหลังไปด้านข้าง 1.5 ชุ่น |
ผีซู | อยู่บนหลัง ระดับขอบล่างปุ่มกระดูกสันหลังอกที่ 11 ข้างต่อ แนวกึ่งกลางตัว 1.5 ชุ่น |
เฟิงเหมิน | อยู่ที่หลัง ระดับขอบล่างปุ่มกระดูกสันหลังอกที่ 2 ข้างต่อ แนวกึ่งกลางตัว 1.5 ชุ่น |
เฟิงฉือ | รอยบุ๋มใต้กระโหลกศรีษะ มี 2 จุด อยู่หนือเชิงผมขึ้นไป 1 นิ้วหัวแม่มือ |
และห่างจากแนวกึ่งกลางออกไปข้างละ 2.25 ชุ่น | |
เฟ่ยซู | อยู่ที่หลัง ระดับขอบล่างปุ่มกระดูกสันหลังอกที่ 3 ข้างต่อ แนวกึ่งกลางตัว 1.5 ชุ่น |
มิ่งเหมิน | อยู่ที่หลังตรงข้ามกับสะดือ |
เยาท่งเสวีย | เป็นจุดคู่ (สองจุดต่อข้าง) อยู่บนหลังมือ ตรงจุดกึ่งกลาง ระหว่างเส้นข้อมือด้านหลัง |
เยาหยางกวน | อยู่บนเส้นลมปราณตู ตรงจุดโค้งแอ่นของเอวเปรียบเป็นเฟืองควบคุมการเคลื่อนไหวของเอว |
เลี่ยเชวีย | ตรงรอยบุ๋มที่ข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ เหนือรอยเส้นพับข้อมือ 1.5 ชุ่น |
เว่ยซู | อยู่ที่หลังบริเวณปุ่มขอบล่างกระดูกสันหลังอกที่ 12 ข้างต่อแนวกึ่งกลางตัว 1.5 ชุ่น |
ไว่กวน | เหนือเส้นข้อมือด้านนอก 2 ชุ่น ระหว่างกระดูกแขนสองข้าง |
เสินเหมิน | รอยบุ๋มเล็กๆ บริเวณปลายเส้นพับข้อมือด้านนิ้วก้อย |
หยางหลิงเฉวียน | รอยบุ๋มหน้าและใต้หัวกระดูกน่อง ด้านนอกแข้ง |
หวนเที่ยว | จุดข้างแก้มก้น |
เหลิงเหมิน | เหนือสะดือ 4 ชุ่น ห่างไปแนวราบ 2 ชุ่น |
เหรินจง | ร่องหนือริมฝีปาก อยู่ระหว่าง 2 ใน 3 ของความสูงทั้งหมด |
เหว่ยจง | กึ่งกลางรอยพับหลังเข่า |
เหอกู่ | จุดตรงง่ามนิ้วระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ |
อี๋ซู | อยู่ที่หลังระดับขอบล่างปุ่มกระดูกสันหลังอกที่ 8 ข้างต่อแนวกึ่งกลางตัว 1.5 ชุ่น |
อิ๋งเซียง | ร่องข้างจมูก ระดับเดียวกับกึ่งกลางปีกจมูก |
อิ้นถาง | อยู่กึ่งกลางระหว่างหัวคิ้วทั้งสองข้าง |